1.การศึกษาข้อมูล
ก่อนจะเริ่มธุรกิจเราต้องศึกษาหาข้อมูลก่อน ทั้งเรื่องกลุ่มลูกค้า พฤติกรรม ความชอบ ความต้องการ ช่วงเวลา - ระยะเวลาในการซื้อของ เพื่อที่เราจะได้รู้ว่ากลุ่มลูกค้าของเราเป็นใคร ต้องการสิ่งของแบบไหน จะได้วางแผนเตรียมตัวซื้อสินค้าได้ถูกต้อง ไม่ต้องเสียเงินซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น - ขายไม่ได้ และไม่เสียเงินค้างสต็อกเยอะ
2.สต็อกสินค้า
ร้านขายของชำ จำเป็นต้องมีการสต็อกสินค้า สำหรับผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ อาจจะคิดไม่ตกว่าแล้วฉันต้องซื้อสินค้าอะไรมาสต็อกบ้าง จันแนะนำว่าให้จัดเป็นหมวดหมู่สินค้า เพื่อง่ายต่อการคิดคำนวณต้นทุน เช่น
• อาหารแห้ง – ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำมัน วุ้นเส้น ปลากระป๋อง ฯลฯ
• เครื่องปรุง – น้ำปลา น้ำส้มสายชู ผงปรุงรส น้ำตาล พริกป่น ซอสปรุงรส ฯลฯ
• เครื่องดื่ม – น้ำเปล่า น้ำชา โซดา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟกระป๋อง กาแฟซอง นมกล่อง น้ำผลไม้ ฯลฯ
• ขนมลูกอม – ขนมซอง หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต ฯลฯ
• ของใช้ส่วนตัว – แป้งทาตัว สบู่ ยาสระผม โรลออน โฟมล้างหน้า ฯลฯ
• ครีมซอง – ครีมทาผิว ครีมกันแดด ครีมบำรุง ฯลฯ
• ของเล่น – ลูกบอล ปืนของเล่น ตุ๊กตา ฯลฯ
• อุปกรณ์ทำความสะอาด – ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาถูพื้น ไม้กวาด ฯลฯ
• อื่นๆ ยาฆ่าแมลง ยากันยุง รองเท้าแตะ ถุงเท้า เครื่องเขียน ฯลฯ
3. แหล่งซัพพลายเออร์
เมื่อเรารู้แล้วว่าในร้านจะขายสินค้าอะไรบ้าง สิ่งที่ต่อมาคือสำรวจว่าแหล่งซัพพลายเออร์ หรือ แหล่งซื้อสินค้า ของเราระยะทางไกลจากร้านขนาดไหน มีเงื่อนไขราคา แตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจรับของจากแหล่งนั้น
4. การทำบัญชีและภาษี
หลายคนชอบมองข้ามการทำบัญชี เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แค่เปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ ไม่เห็นต้องทำเลย จันจะบอกว่า อย่าคิดแบบนั้นเด็ดขาดนะคะ เพราะการทำบัญชีจะทำให้เรารู้ว่าธุรกิจที่ทำอยู่นั้นขาดทุน หรือได้กำไร สินค้าตัวไหนขายดี กำไรดี หรือสินค้าตัวไหนไม่ควรทำมาขายแล้ว นั้นก็จะทำให้คุณสามารถวางแผนเพิ่มยอดขายได้อีก และที่สำคัญการทำบัญชีต้องใช้ในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ซึ่งการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดจาก รายได้สุทธิ ไม่ใช่รายได้ตลอดทั้งปี สามารถคำนวณได้จาก รายรับ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิเสียภาษี
ซึ่งคุณสามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้ และเกณฑ์ในการเสียภาษีจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. การเสียภาษีแบบเหมา
2. การเสียภาษีแบบใช้จ่ายตามจริง
5.อุปกรณ์ภายในร้าน
ในการเปิดร้านขายของชำนั้น จันได้แบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกมาดังต่อไปนี้
1. ชั้นวางสินค้า – ชั้นวางริมผนัง / ชั้นวางกลางห้อง / ชั้นตะกร้า / ชั้นเก็บสต็อกสินค้า / ชั้นวางขวด
2. ตู้แช่หรือตู้ใส่น้ำ – ตู้แช่ 2 ประตู / ตู้ใส่น้ำแข็ง / ตู้แช่ไอศกรีม / ตู้แช่เบียร์วุ้น
3. เคาน์เตอร์คิดเงิน – เคาน์เตอร์ยาว / ชั้นวางบนเ / ตู้หลังเคาน์เตอร์
4. อุปกรณ์เสริม
ซึ่งในการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ มีหลายระดับหลายราคา มือหนึ่ง มือสอง สามารถเลือกซื้อได้ตามงบประมาณและรูปแบบการจัดร้าน
6.การตกแต่งจัดวางสินค้าภายในร้าน
เมื่อเราได้สถานที่ตั้งร้านค้า สินค้าที่จะขาย อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในร้านแล้ว ต่อมาเป็นเรื่องของการตกแต่งจัดวางสินค้าภายในร้าน เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ช่วยให้ร้านของคุณดูดีขึ้นแล้วยังมีส่วนช่วยให้คุณเพิ่มยอดได้ เช่น
· ความสูงของแผ่นชั้นวางสินค้าแต่ละชั้นจะต้องพอดีกับส่วนสูงของสินค้าและมีพื้นที่ให้หยิบสินค้าได้
· ทางเดินร้านค้าจะต้องไม่แคบเกินไปจนทำให้ลูกค้าเดินสวนกันไม่ได้
· ไฟภายในร้านจะต้องสว่างทำให้มองเห็นสินค้าชัด หากร้านค้ามืดจะทำให้สินค้าดูเก่าได้
· การจัดเรียงสินค้าบนชั้นวางให้แบ่งตามหมวดหมู่และการใช้งาน
· เคาน์เตอร์คิดเงินจัดวางไว้หน้าร้านตรงทางออกเพื่อเช็คว่าลูกค้าได้จ่ายเงินแล้วค่อยเดินออกจากร้าน
ที่มา
#สอบถามเพิ่มเติม
📲 Line ID @saitarnshop (ใส่@ข้างหน้าด้วยนะคะ)
LINE :👉 http://nav.cx/9px0NLe